ผมร่วงจากกรรมพันธุ์

ผมร่วง เกิดในบางส่วนของหนังศีรษะ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ (pattern) จากการศึกษาพบว่าทั้งในชายและหญิงจะมีฮอร์โมนชายสร้างจากต่อมหมวกไต ได้แก่ ฮอร์โมนเทสโทสโตโรน (Testosterone) และไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (dihydrotestosterone, DHT) ฮอร์โมนจะกระตุ้นขนรักแร้ ขนบริเวณหัวเหน่าและเครา ให้เปลี่ยนเป็น เส้นผม หนาดำ หยาบ และยาวขึ้น กระตุ้นการสร้างอสุจิ ขนาดอวัยวะเพศ เสียง ความรู้สึกทางเพศ และเร่งให้มีการผลัดเส้นผมในบริเวณเหนือหน้าผาก และกลางกระหม่อมเพิ่มขึ้น โดยอายุเส้นผมระยะเจริญสั้นลง ผมจึง หลุด ร่วงก่อนกำหนด ส่วนเส้นผมใหม่ที่ขึ้นแทนเส้นจะเล็กและสั้นลงตามลำดับ เพราะขนาดรากผมเล็กลงและฝ่อไปในที่สุด

ผมบาง แบบพันธุกรรมนี้เกิดจากปัจจัย ได้แก่
พันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดเป็นยีนเด่น ทำให้ผมมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนชายเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและอายุที่เพิ่มมากขึ้น พันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะ เนื้อเยื่อและเอนไซม์ของต่อมขน พบว่ารากผมบริเวณ outer root sheath และเซลไพโบรบลาส ในบริเวณต่อขนจะมี androgenic receptor รากผมบริเวณกลางกระหม่อมและเหนือหน้าผาก พบมีจำนวน receptor สูงกว่าบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่า และ receptor ในหญิงพบมีน้อยกว่าชาย พบเพียงร้อยละ 40 ของในชาย ดังนั้นเส้นผมของชายในบริเวณดังกล่าวจะตอบสนองต่อฮอร์โมน DHT มากกว่า และพบว่ารากผมบริเวณดังกล่าวจะมีเอนไซม์ type 2-5 reductase สูงขึ้นด้วย เอนไซม์ชนิดนี้เปลี่ยน testosterone เป็น DHT ซึ่งมีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายสูงกว่า จึงยิ่งกระตุ้นให้อายุของต่อมผมสั้นลง ในหญิงเส้นผมบริเวณดังกล่าวก็มี receptor สูงเช่นกัน แต่กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับชาย เพราะในหญิงมีระดับเอนไซม์ cytochrome P450 aromatase สูงกว่าชายถึงร้อยละ 80 เอนไซม์นี้สามารถเปลี่ยน testosterone เป็นฮอร์โมนหญิง estradiole ซึ่งช่วยต่อต้านฤทธิ์ของฮอร์โมนชายได้ ส่วนในชายศีรษะล้านตรวจไม่พบเอนไซม์นี้เลย

0